เริ่มต้นใช้งาน สว่านแท่น
สว่านแท่น นับได้ว่าเป็นสว่านที่เจาะได้ตรงและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะสว่านแท่นใช้การเคลื่อนไหวในการเจาะแค่ทิศทางเดียวเท่านั้น แต่ทั้งนี้ก็อาจเป็นงานที่น่าเบื่อสำหรับใครบางคนได้ เพราะการปรับตั้งสว่านแท่นเมื่อเราจะเริ่มใช้งานครั้งแรก เราต้องมาปรับทั้ง ความลึก และความเร็วของสว่าน แต่หลังจากนั้นการใช้งานสว่านแท่นเราจะพบว่าใช้งานได้อย่างลื่นไหลไม่สะดุดระหว่างการทำงานเจาะ และพบปัญหาที่เกิดจากสว่านแท่นน้อยมาก ดังนั้นเรามาดู 10 วิธีเซตอัพสว่านแท่นเบื้องต้นก่อนการใช้งานไปพร้อมๆกันครับ
แต่ถ้าหากคุณยังไม่มีสว่านแท่น คุณสามารถไปเลือกสว่านแท่นได้ตรงนี้
1. ปรับโต๊ะงานของ สว่านแท่น ให้ได้ตามความต้องการ
เมื่อตั้งค่าความลึกเสร็จ คุณก็สามารถใช้งานสว่านได้ตลอด โดยไม่ต้องตั้งค่าใหม่อีกนั่นจึงเหมาะสำหรับทำงานในปริมาณที่มาก ยกเว้นคุณจะต้องเปลี่ยนตัววัสดุในการเจาะบ่อยๆ
2. ปรับความตึงของสายพานสว่านแท่น เพื่อลดการสั่น
หลังจากที่คุณเปลี่ยนความเร็วสว่านแล้ว หากตรวจพบว่าสว่านแท่นมีการสั่นสะเทือนที่มากเกินไป ให้ตรวจสอบความตึงของสายพาน ควรซื้อขนาดของสายพานไม่เกิน 1/2 นิ้ว การปรับความตึงให้คลายล็อคมอเตอร์ และเลื่อนมอเตอร์ไปข้างหน้าหรือข้างหลังจากนั้นขันตัวล็อคให้แน่นอีกครั้ง แท่นเจาะบางรุ่นมีก้านปรับความตึงเพื่อเคลื่อนมอเตอร์ได้
3. ตรวจสอบความเร็ว การหมุนของสว่านแท่น
สว่านแแท่นของคุณ มีความเร็วในการหมุนดอกสว่านที่เหมาะสมกับชิ้นงานหรือไม่? เพราะหากสว่านแท่นมีความเร็วของดอกสว่านที่มากเกินไป อาจจะทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหาย หรือชำรุดได้ ความเร็วที่พอดีสำหรับชิ้นงานจึงมีความสำคัญมาก อีกทั้งการปรับความเร็ว ยังหมายถึงการปรับแรงบิดที่ตัวสว่านแท่น ดังนั้นจะทำให้สว่านมีกำลังที่มากพอสามารถทำงานได้อย่างไม่สะดุด และจะช่วยให้การหมุนเจาะดอกสว่านมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. เป่าเศษฝุ่น หรือเศษไม้ต่างๆก่อนเริ่มทำงาน
ฝุ่นที่ได้จากการทำงานครั้งก่อน มีผลทำให้การทำงานสว่านแท่น เกิดความล่าช้าได้ หรือหากทำงานในปริมาณที่มากการทำจัดฝุ่น หรือเศษไม้ที่มีจะช่วยลดเวลาทำให้มากขึ้น จึงควรเป่าฝุ่นทุกครั้ง จากตัวสว่านและวัสดุก่อนเริ่มใช้งาน
5. ใช้ปากกาจับชิ้นงานช่วยยืดชิ้นงาน เพื่อความปลอดภัย
ในบางครั้ง ชิ้นงานที่ต้องการเจาะมีขนาดเล็ก จำเป็นต้องมี ปากกาจับชิ้นงาน เข้ามาช่วยยึดชิ้นงานไม่ให้เลื่อน ขณะทำงาน เพราะจะทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหาย หรือเจาะไม่ตรงตามตำแหน่งที่ต้องการนั้นเอง มักนิยมใช้ปากกาจับชิ้นทั่วไป และแบบซีแคลมป์
6. ตั้งค่าความลึกสว่านแท่น ให้ถูกต้องสำหรับการใช้งาน
ความลึกที่สว่านแแท่นเจาะได้ขึ้นอยู่กับ ความลึกที่ต้องการจะเจาะ สามารถตั้งค่าความลึกจากตัวสว่านแท่นได้ โดยปรับควาลึก บริเวณด้านข้างของสว่านแท่น ซึ่งสว่านแท่นรุ่นทั่วไปส่วนมากจะมีขนาดวัดความลึกบริเวณด้านข้าง เป็นหน่วยมิลลิเมตร และหน่วยเซนติเมตร ซึ่งหมายถึงการทั้งค่าจากปลายดอกสว่าน จนถึงฐานโต๊ะสว่านแท่น
7. ความร้อนดอกสว่าน ขณะเจาะ
เมื่อใช้ดอกสว่านเจาะวัสดุเช่น เจาะเหล็ก บริเวณปลายดอกสว่านมักเกิดความร้อนจากการทำงาน แต่หากยังทำงานต่อไปจะทำให้ดอกสว่านเกิดการเสียดสีและอาจเป็นประกายไฟได้ จึงมีเคล็บลับ ที่ช่วยลดความร้อยนจากดอกสว่านและสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง คือการหยดน้ำลงไปบริเวณตำแหน่งการเจาะ น้ำจะช่วยลดความร้อนจากปลายดอกสว่านได้ดีเลยทีเดียว สำหรับงานที่ต้องการเจาะในปริมาณมาก อาจใช้น้ำมันเฉพาะทางสำหรับการเจาะก็ได้
8. เลือกเจาะ โดยขนาดดอกสว่านที่เท่ากันก่อน
การเปลี่ยนดอกสว่าน สำหรับสว่านแท่นไม่ใช้เรื่องยุ่งยากแต่อาจเป็นเรื่องที่หน้าลำคาญได้ จึงควรเจาะดอกสว่านที่มีขนาดเดียวกันก่อน จะทำให้สว่านแแท่นทำงานได้แม่นยำและต่อเนื่องมากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาในการเปลี่ยนดอกสว่านกลับไปกลับมา
9. เตรียมพื้นที่สำหรับวางชิ้นงานจำนวนมาก
หากเจาะทำงานกับชิ้นงานในปริมาณที่ไม่มาก โต๊ะเสริมสำหรับวางชิ้นงานอาจไม่จำเป็น แต่ถ้าคุณต้องการเจาะชิ้นงานจำนวนมาก โต๊ะเสริมหรือมีพื้นที่สำหรับวางชิ้นงานจะช่วยให้คุณทำงานได้เร็วขึ้น นี่เป็นอีกเรื่องในการเตรียมการที่คุณอาจคาดไม่ถึงเลยทีเดียว
10. ตั้งค่าสำหรับการเจาะเอียง โดยปรับฐานเจาะสว่านแท่น
สว่านแท่นส่วนมากสามารถเจาะเอียงได้ แต่ต้องตั้งค่าสำหรับการตัดเอียง โดยการปรับฐานเจาะสว่านแท่นและควรมีแคลมป์สำหรับยึดชิ้นงานให้ติดกับโต๊ะงาน เพื่อความสะดวก และรวดเร็วในการเจาะทำงาน